top of page
ค้นหา

เดินเข่าแอ่นจัดการได้ไหม

อัปเดตเมื่อ 25 ต.ค. 2566

การเดินเข่าแอ่นหรือการเดินล็อกเข่า เพื่อที่ผู้ป่วยเองมั่นใจและเข้าใจว่าเข่าจะไม่ทรุด แต่ปกติมนุษย์เราจะเดินโดยพยายามรักษาน้ำหนักของร่างกายให้ตกลงยังบริเวณกึ่งกลางเท้าทางด้านในเสมอ เพื่อให้เกิดสมดุลร่างกายที่ถูกต้องในขณะเดินเพื่อพาถ่ายน้ำหนักตัวไปทางด้านหน้า เพราะฉะนั้นผู้ป่วยที่เดินเข่าแอ่นไปนานๆ ร่างกายที่แสนฉลาดของเราจะเกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของกระดูกหน้าแข้งให้เกิดการบิดหมุน ทำให้น้ำหนักลงผิดที่ไปตกลงทางด้านนอก ส่งผลให้เกิดการพลิกตะแคงของข้อเท้าตามมา และทำให้เดินไม่มั่นคง ไม่มั่นใจในการเดินในที่สุด


เนื่องจากสูญเสียความมั่นคงของข้อเข่าไป และอีกประการหนึ่งคือ กล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณต้นขาด้านหน้าจะเล็กลง เนื่องจากขาดการใช้งานในการยืน เดิน ทำให้ประสิทธิภาพการเดินของผู้ป่วยลดลงไปอีก และประการสุดท้ายของการเดินเข่าแอ่นจะไปกระตุ้นทำให้ข้อเท้าและเอ็นใต้ฝ่าเท้าตึง ทำให้เกิดการเขย่งปลายเท้าเกิดขึ้น ส่งผลทำให้เวลาก้าวขาผู้ป่วยจะใช้การเหวี่ยงขาหรือยักสะโพกขึ้น ทำให้ขัดขวางการเคลื่อนไหวที่ดี

การแก้ไขอาการเข่าแอ่นสามารถทำได้เบื้องต้น

1. การออกกำลังกายบนเตียง

  • ท่ายกก้นให้พ้นพื้น

  • ท่านอนหงายเอาหมอนรองใต้เข่า คุมการเหยียดเข่าขึ้น แต่ต้องไม่สะบัดเกร็งให้แอ่น

  • ท่านอนคว่ำงอเข่า เพื่อทำให้กล้ามเนื้อเข่ามีการทำงานมากขึ้น

2. การฝึกการรับรู้ของข้อต่อที่ถูกต้อง ให้น้ำหนักตกผ่านตั้งแต่ข้อสะโพก ไปยังข้อเข่า ข้อเท้า และฝ่าเท้า ลงน้ำหนักค้างไว้ เมื่อทำได้ดีขึ้นให้ลองถ่ายน้ำหนักไปซ้าย-ขวา สลับกัน โดยคุมข้อเข่ายังอยู่ในมุมองศาที่ถูกต้อง ต้องเข่าไม่ล็อกหรือดีดไปด้านหลัง เมื่อมีน้ำหนักตกลงขาข้างที่อ่อนแรง



ลักษณะเข่าแอ่น
ลักษณะเข่าแอ่น

สรุป การเดินเข่าแอ่นมีข้อดีอย่างเดียวคือ ทำให้เดินได้โดยที่เข่าไม่ทรุด และในระยะยาวอาจส่งผลเสียตามมา คือผู้ป่วยจะไม่สามารถเดินได้อิสระและปลอดภัยได้ ซึ่งจะสร้างปัญหาแต่ให้กับญาติและตัวผู้ป่วยเอง แต่ในรายที่โครงสร้างของเข่าเป็นมาตั้งแต่แรกก่อนป่วยมีล็อกเข่าเวลาเดินอยู่แล้ว เราอาจจะยอมให้เดินในรูปแบบนั้นต่อไป เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเดินเองได้อย่างอิสระ ถ้าผู้ป่วยอยากเดินให้ดี มั่นคง ต้องเกิดจากการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง ซึ่งตัวผู้ป่วยเองต้องโฟกัสและนักกายภาพบำบัดมีส่วนสำคัญในการฝึกที่สามารถให้คำสั่งที่ดี สั้น กระชับ ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจง่ายและมีประสิทธิภาพต่อการฝึกทำกายภาพบำบัด



นักกายภาพบำบัดวิชาชีพของโกลอัพทูโฮม กายภาพบำบัดรักษาที่บ้าน

การเดินเท้าพลิกตะแคงในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

© 2022 by Grow Up To Home. Powered and secured by Wix

bottom of page